การปลูกเตยในปัจจุบัน นิยมปลูกด้วยการแยกเหง้าหรือหน่อปลูก ทั้งนี้ เตยสามารถขึ้นได้ดีในที่ชุ่ม และทนต่อสภาพดินชื้นแฉะได้ดี แต่ควรเลือกพื้นที่ปลูกไม่ให้น้ำท่วมขังง่าย
การเตรียมแปลง
แปลงปลูกเตย ควรไถแปลง และตากดินก่อน 5-10 วัน พร้อมกำจั ดวั ช พื ชออกให้หมด ก่อนหว่านด้วยปุ๋ยค อ ก พร้อมพรวนกลบ
การปลูก
การปลูกเตย ควรปลูกในช่วงฤดูฝน เพราะดินจะชื้นดี ทำให้ต้นเตยติด และตั้งตัวได้ง่าย ด้วยการขุดหลุมปลูกเป็นแถว ระยะหลุม และระยะแถวที่ 50 เซนติเมตร หรือที่ 30 x 50 เซนติเมตร ก่อนนำต้นพันธุ์เตยลงปลูก
การให้น้ำ
หลังจากปลูกเตยเสร็จ ควรให้น้ำทันที แต่หากดินชื้นมากก็ไม่จำเป็นต้องให้ และให้น้ำเป็นประจำทุกๆ 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับความชื้นดิน และฝนที่ตก
การใส่ปุ๋ ย
หลังจากปลูกแล้ว 2-3 เดือน ให้ใส่ปุ๋ ยสูตร 24-12-12 หยอดรอบโคนต้น และให้อีกครั้ง 5-6 เดือน หลังปลูก โดยใช้การหว่านทั่วทั้งแปลงหรือหยอดรอบโคนต้นหากไม่แตกกอมาก
การเก็บใบเตย
หลังจากการปลูกแล้วประมาณ 8 เดือน ก็สามารถเริ่มเก็บใบเตยได้ โดยมีวิธีเก็บใบเตย 2 แบบ คือ
- แบบไว้หน่อ คือ ให้เก็บใบเตยด้วยการใช้มี ดตั ดยอด โดยเลือกตัดเฉพาะต้นที่ใหญ่มากหรือต้นที่แก่สุด และให้เหลือกอหรือยอดที่เล็กไว้ ซึ่งเพียง 4-5 เดือน ก็สามารถเก็บใบหรือย อ ดเตยได้อีกครั้ง วิธีนี้ เกษตรกรนิยมทำมากที่สุด
- แบบไม่ไว้หน่อ คือ การใช้มัดตั ดต้นเตยทั้งหมด ออ ก เหลือเพียงเหง้าหรือโคนต้นตอไว้ เพื่อให้แตกหน่อใหม่ วิธีนี้ ไม่ค่อยนิยมนัก เพราะต้องรอให้เตยแตกหน่อ และดูแลให้เติบโต ซึ่งกว่าจะเก็บใบได้ก็ต้องใช้เวลานานขึ้น
ประโยชน์เตย
1. ใบเตยนำมาบด และคั้นแยกน้ำ ก่อนนำไปผสมทำขนมหรือของหวานต่างๆ เช่น ขนมเปียกปูน ขนมชั้น เป็นต้น เนื่องจากให้สีเขียวสด และให้กลิ่นห อ ม เป็นธรรมชาติ
2. นำใบเตยมา 5-10 ใบ บดคั้นผสมน้ำ และกรองแยกน้ำออก ก่อนนำมาต้มอุ่น พร้อมกับเติมน้ำตาลลงเล็กน้อยตามความหวานที่ต้องการ เรียกว่า น้ำใบเตย
3. ใบเตยนำมาห่อทำขนมหวาน เช่น ขนมตะโก้
4. ใบนำมามัดรวมกัน ใช้สำหรับวางในห้องน้ำ ห้องรับแขกเพื่อให้อากาศมีกลิ่นห อ ม ช่วยในการดับกลิ่น
5. ใบเตยสดนำมายัดหมอน ช่วยให้มีกลิ่นหอม
6. ใบนำมาสกัดน้ำมั นห อ มระเหยที่เรียกว่า Fragrant Screw Pine ให้กลิ่นหอมอ่อนๆ มีประโยชน์ในด้านอาหาร เครื่องสำอาง และย า
7. ส า รสกั ดจากใบเตยนำมาใช้เป็นสารแต่งกลิ่นบุหรี่
8. ใบเตยสดนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตากแดดให้แห้ง ก่อนใช้ชงเป็นชาดื่ม
9. น้ำมันห อ มระเหยจากเตยนำไปเป็นส่วนผสมของน้ำ ย า ปรับอากาศ
10. ส า รสกั ดจากใบเตยนำไปเคลือบข้าวสารที่ไม่มีกลิ่นห อ ม หลังจากนำมาหุงแล้วจะช่วยให้มีกลิ่นห อ ม
11. ส า รสกั ดจากใบเตยใช้เป็นส า รป้องกันการหืนของอาหาร น้ำมันปาล์ม และผลิตภัณฑ์อาหารสั ต ว์
12. ส า รสกั ดจากใบเตยใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง ครีมทาผิว
13. น้ำคั้นใบเตยนำมาผสมทำแซมพู สบู่ หรือ ครีมนวด
14. น้ำมันห อ มระเหยใบเตยใช้เป็นส่วนผสมทาง ย า
15. ใบเตยสดนำมามัดเป็นกำ ใช้ขัดถูพื้น ช่วยให้พื้นเงางาม และมีกลิ่นห อ ม
16. ใบเตยสด นำมามัดรวมกับด อ กไม้อื่นๆ ใช้สำหรับถวายหรือบูชาพระ
ที่มา jo worker